ปรัชญาการแสดง
ในบทนี้จะกล่าวถึงการแสดงดนตรีในที่สาธารณะ ทั้งการบรรเลงเดี่ยวและบรรเลงเป็นวง
1. การแสดงออกทางดนตรี การแสดงออกทางดนตรีถือเป็นพรสวรรค์อย่างหนึ่ง ซึ่งออกมาจากจิตและวิญญาณ ถึงกระนั้นก็ตาม การแสดงออกทางดนตรียังรวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ อีกด้วย เช่น คุณภาพของเสียงที่เป่าออกมา เครื่องหมายทางดนตรี การจากไปของเสียงที่เป่า เสียงระรัว วลี และประโยคเพลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการฝึกนอกเหนือจากพรสวรรค์
2. ปรัชญาการแสดง เป็นเรื่องที่จะต้องฝึกและทำความเข้าใจ โดยมีข้อที่ควรคำนึงถึงดังนี้
- ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะขอโทษผู้ฟังจากข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น นักแสดงต้องใจกล้าพอที่จะแสดง โดยไม่คำนึงถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
- เสียงทุกเสียงที่เป่าออกมา ต้องมีความหมายทางดนตรีและมีคุณภาพแม้แต่การตั้งเสียง
- คิดในทางที่ดีในขณะบรรเลง หลีกเลี่ยงความคิดในทางลบ เช่น ความผิดพลาดอาจจะเกิดขึ้นและในที่สุดก็เกิดขึ้น
- พยายามเข้าใจหลักธรรมชาติที่ว่า ไม่มีใครจะชอบทุกอย่างที่บรรเลงถือเสียว่าเมื่อไม่ชอบมันไม่ใช่ความผิดของเรา แต่ใช่ว่าถือโอกาสไม่ซ้อมเสียเลย ซ้อมให้ดีที่สุดและบรรเลงให้สุดความสามารถ
- ความมั่นใจในการบรรเลงมาจากการซ้อมและการเตรียมตัวที่ดี
- เป้าหมายของการบรรเลงควรดีกว่าการบรรเลงคราวที่แล้ว
- ไม่ควรทำหน้ายุ่งเมื่อเป่าผิด ให้เป่าผ่านความผิดที่เกิดขึ้น
- จุดที่ ๆ จะต้องใช้ความสามารถพิเศษหรือจุดที่ยาก ควรคำนึงถึงโน้ตก่อนที่จะนึกถึงการถ่ายทอดอารมณ์เพลง อย่างไรก็ตามควรที่จะฝึกให้ชำนาญจนสามารถถ่ายทอดอารมณ์เพลงได้
3. ถ้าเป็นไปได้ควรบันทึกในการบรรเลงเพื่อที่จะได้ฟังเปรียบเทียบว่าสิ่งที่คิดไว้กับเทปแตกต่างกันอย่างไร
4. ท่าทางในการแสดง น้ำหนักควรอยู่บนขาทั้งสองข้าง
5. การโค้งให้เกียรติกระทำอย่างไม่เคอะเขินบนเวทีผู้แสดงย่อมเป็นศิลปิน
6. ความคล่องตัว และความจัดเจนต่อการแสดงย่อมทำให้มีสิ่งที่จะต้องระวังมากขึ้น แต่ถ้าจะคิดในแง่ดีแล้วไม่มีใครที่จะแสดงทุกอย่างสมบูรณ์ และการแสดงเริ่มเมื่อก้าวแรกที่คุณขึ้นสู่เวที
อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงข้อสังเกตโดยทั่วไปเท่ารั้น ไม่มีอะไรดีไปกว่าประสบการณ์ตรง นักเรียนดนตรีต้องกล้าแสดงและพร้อมเสมอที่จะแสดง ความไม่พร้อมที่จะแสดงเป็นการพลาดโอกาสอันยิ่งใหญ่ในฐานะศิลปิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น