การฝึกเป่าให้เสียงมีคุณภาพ
1. ฝึกเป่าเพื่อหาจุดกลางของเสียง ซึ่งเป็นเสียงที่มีคุณภาพไม่เพี้ยน เพราะถ้าเสียงต่ำกว่าจุดกลางเสียงจะเพี้ยนต่ำและมีลักษณะกระจาย และถ้าเสียงสูงกว่าจุดกลางจะเพี้ยนสูงมีความห้าวเหมือนกับบีบเสียงให้ออกมา
- เป่า F# โดยปล่อยให้ขากรรไกรล่างต่ำลงใช้การรัดตัวของกล้ามเนื้อริมฝีปากในการเป่า แล้วค่อย ๆ รัดกล้ามเนื้อให้แน่นขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป่าเสียงไม่ออก เสียงที่ออกมาจะเริ่มจากเสียงต่ำสุดแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนสูงขึ้นจนสูงสุด
- เป่า F# ให้มีเสียงต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยวางปากให้กล้ามเนื้อหลวมที่สุด แล้วเป่า F# ให้มีเสียงสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยรัดกล้ามเนื้อที่ปากให้แน่นที่สุด แล้วหาจุดกลางระหว่างเสียงทั้งสอง
อย่างไรก็ตามจุดกลางของเสียงจะเป็นจุดที่เสียงมีความกังวานมากที่สุด หูของท่านจะบอกได้ว่าจุดใดของเสียงที่เป่านั้นมีความกังวานกว่าจุดอื่น ๆ โดยลักษณะทั่วไปแล้วเสียงที่มีคุณภาพ เกิดจากการเป่าด้วยจำนวนลมที่พอเหมาะบวกกับแรงรัดของการวางปากที่สอดคล้องกับแรงลม
ข้อควรคำนึงคือ กระแสลมที่เป่าต้องมีความสม่ำเสมอติดต่อกัน โดยไม่ขาดระยะหรือลมไม่ออกมาเป็นลักษณะของลูกคลื่น
2. เป่าเสียงยาว พยายามควบคุมให้เสียงอยู่บนจุดกลางของเสียงอาจจะเริ่มด้วยเสียงเบาที่สุดแล้วค่อย ๆ ดังขึ้นจนดังที่สุด แล้วค่อย ๆ เบาจนเบาที่สุดโดยใช้ลมเพียงลมเดียว
ความดัง – เบาของเครื่องหมาย จะมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ ไม่ได้แยกกันโดยเด็ดขาด ฉะนั้นเวลาเป่าก็ควรเป่าให้เสียงค่อย ๆ ดังขึ้นหรือค่อย ๆ เบาลง แต่มีลักษณะที่ติดต่อเหลื่อมล้ำกัน ไม่เป็นลูกคลื่นหรือลุ่ม ๆ ดอน ๆ
การฝึกช้า ๆ เป็นการฝึกที่ควรคำนึงถึง เพราะจะสามารถฟังเสียงที่เป่าได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้แล้วยังมีเวลาที่คิดถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในการเป่า เช่น การหายใจ การวางปาก แรงรัด แรงลมที่เป่า ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น