เสียงสั่นหรือเสียงระรัว (Vibrato)
มาร์เซล มัลย์ (Marcel Mule) ปรมาจารย์แซกโซโฟน ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่ใช้ขากรรไกร และกล้ามเนื้อริมฝีปากในการเสริมเสียงระรัวในเสียงของแซกโซโฟน และนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงเดิมกับเสียงระรัว เสียงระรัวเป็นการเสริมให้เสียงมีความกังวานน่าฟังขึ้นจากเดิม แต่ยังรักษาเสียงเดิมอยู่
ลักษณะของเสียงระรัว
เสียงระรัวเป็นการทำเสียงเรียบให้เป็นลูกคลื่น ซึ่งประกอบด้วยความถี่และความกว้างของคลื่นแต่ละลูกจากการบังคับและการคุมของผู้เป่าว่าจะให้มีความกว้างหรือแคบมากน้อยเพียงใด
เสียงระรัวที่นิยมใช้สำหรับเป่าแซกโซโฟนมี 3 ชนิด ดังนี้
- ขากรรไกรระรัว เป็นการเลื่อนขากรรไกรขึ้นลง เพื่อให้เกิดเสียงระรัว แต่ริมฝีปากล่างยังคงทำหน้าที่รักษาระดับการวางปากให้คงที่อยู่ ขณะที่ขากรรไกรระรัว
- การฝึกขากรรไกรระรัวให้นึกถึงคำว่า อา หรือ วา – วา อาการของขากรรไกรจะเคลื่อนขึ้นลงเหมือนออกเสียง ญา – ญา หรือ วา – วา
- ริมฝีปากระรัว กล้ามเนื้อของริมฝีปากล่างจะทำหน้าที่ระรัว โดยที่ขากรรไกรจะอยู่คงที่เพื่อรักษาระดับการวางปาก
- กระแสลมระรัว อาศัยกระแสลมที่เป่าระรัวเสียง โดยเป่าให้กระแสลมเป็นลูกคลื่นที่ติดต่อกันไม่ขาดระยะและมีความสม่ำเสมอ
พึงระลึกเสมอว่าเสียงระรัวไม่ได้เกิดจากการปิดเปิดของกล่องเสียงในลำคอซึ่งมีเสียงคล้าย ๆ แกะร้องหรืออาการไอ เพราะกระแสเสียงจะขาดเป็นช่วงไม่ติดต่อกัน
การฝึกเสียงระรัว
ให้ตั้งเครื่องเคาะจังหวะ (Metronome) โดยให้โน้ตตัวดำความเร็วที่ 60 โดยให้ฝึกโน้ตตัวดำมีเสียงระรัว 4 ครั้ง ต่อ 1 ตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น